ประวัติการศึกษา
วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอัญมณีและเครื่องประดับ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรินทรวิโรฒ (พ.ศ.2556)
วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวัสดุศาสตร์ (อัญมณีและเครื่องประดับ)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรินทรวิโรฒ (พ.ศ. 2551)
สาขาวิชาการที่มีความชำนาญพิเศษ (แตกต่างจากวุฒิการศึกษา)
ด้านการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับ
ด้านอัญมณีและเครื่องประดับ
ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น
ด้านวัสดุศาสตร์
ตำแหน่งปัจจุบันและสถานที่ทำงานปัจจุบัน
อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี 41 หมู่ 5 ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
ประสบการณ์ ผลงานทางวิชาการ รางวัลหรือทุนการศึกษาเฉพาะที่สำคัญ
ผลงานทางวิชาการ
ภัทรา ศรีสุโข, นฤมล เลิศคำฟู, กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล, การศึกษาและทดลองฝังพลอยดำตกเกรดในดินเผาเซรามิกเพื่อเป็นวัสดุทางเลือกในงานเครื่องประดับ, วารสารวิจัยรำไพพรรณี (Rajabhat Rambhai Barni Research Journal) พ.ศ. 2564
ภัทรา ศรีสุโข,ณภัค แสงจันทร์, พนม จงกล, การศึกษาและทดลองสารเคลือบผิวผ้ากันน้ำเพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากผ้าย้อมสีธรรมชาติ, วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 เดือน กรกฎาคม-กันยายน 2564
ภัทรา ศรีสุโข และคณะฯ. การศึกษาสีธรรมชาติจากพันธุ์พืชป่าชายเลน ตำบลต่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน, วารสารวิจัยรำไพพรรณี ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2562
ภัทรา ศรีสุโข, ณภัค แสงจันทร์,ธนกฤต ใจสุดา และกรชนก บุญทร, การพัฒนาภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติจากพันธุ์พืชในท้องถิ่นสู่เครื่องประดับ ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี, การประชุมวิชาการระดับชาติ Thailand Research Expo Symposium 2018, วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2561
ธนกฤต ใจสุดา, ภัทรา ศรีสุโข และณภัค แสงจันทร์. เครื่องประดับเซรามิก : เอกลักษณ์ภูมิปัญญาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์, วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 23 ฉบับ 1 มกราคม – มิถุนายน 2562
ภัทรา ศรีสุโข, ธนกฤต ใจสุดา และจรรยพร วิทยารัฐ, การศึกษาแนวทางการพัฒนาวัสดุอัญมณีทางเลือกจากหินแกรนิตจังหวัดตาก, วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ISSN 2228-8724, วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561
ภัทรา ศรีสุโข, ธนกฤต ใจสุดา และจรรยพร วิทยารัฐ, แนวทางการพัฒนาหินแกรนิตจังหวัดตากเพื่อเป็นวัสดุทางเลือกสำหรับ เครื่องประดับในเชิงพาณิชย์, การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13: วิจัยและนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม, วันที่ 20 กรกฏาคม 2560
ภัทรา ศรีสุโข และคณะ, พัฒนารูปแบบเครื่องประดับแฟชั่นจากเศษพลอย เพื่อแสดงเอกลักษณ์จันทบุรี, การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยาครั้งที่ 7 7th National Conference of Sri-Ayutthaya Rajabhat University Group (NCSAG 2016) “วิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ รับใช้สังคม” 111 ปีจากโรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่าสู่มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, วันที่ 7- 8 กรกฎาคม 2559
ภัทรา ศรีสุโข และคณะ, การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการด้านอัญมณีและเครื่องประดับ กรณีศึกษา: จังหวัดจันทบุรี, การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 5: 2558“การพัฒนางานวิจัย รากฐานสำคัญของไทย ก้าวไกลสู่เวทีสากล”“Developing the Quality of Thai Research to the International Standards”
ภัทรา ศรีสุโข และนพกิจ รัตนธรรมเจริญ, การบวนการหล่อพร้อมฝังพลอยก้อนไพลินจากแหล่งออสเตรเลียเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องประดับ, งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา “การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” วันที่ 3-4 กันยายน 2558.
รางวัล
1.รางวัลนักวิจัยดีเด่นและเข้ารับโล่พระราชทานนักวิจัยดีเด่นในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6” (6th Rajabhat University National and International Research and Academic Conference (RUNIRAC VI : 17th - 18th August 2020)
2.รางวัลนักวิจัยดีเด่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ประจำปี พ.ศ. 2562
3.รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ “เพชรรำไพ” ประจำปี พ.ศ. 2559 สาขาการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้น หรืองานสร้างสรรค์
4.รางวัลนักวิจัยดีเด่น ในการประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี พ.ศ. 2559